หน่วยความจำหลัก


2.หน่วยความจำหลัก (Main Memory)          

หน่วยความจำหลัก จะเป็นวงจรหรือชิปที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก(primary storage) ก็ได้ โดยทั่วไปหน่วยความจำหลักจะบรรจุอยู่บนเมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลัก และหน่วยความจำบางประเภทก็ถูกออกแบบให้อยู่ในชิปซีพียูเลยก็มี

หน่วยความจำหลักที่นิยมใช้งานอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

1.หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว หรือ ROM (Read Only Memory)

คือหน่วยความจำที่เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญๆของระบบคอมพิวเตอร์ โดยคำสั่งที่ใช้ในขณะเปิดเครื่องนั้นจะถูกเก็บไว้ในชิปที่ชื่อ ROM   BIOS  (Basic Input/Output ) เนื่องจากรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง(non-volatile) นั่นคือ แม้จะปิดเครื่องไปแล้วเมื่อเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือนเดิม แต่ข้อเสียของรอมคือหน่วความจำชนิดนี้จะไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งได้ในภายหลัง รวมทั้งมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำแบบแรม

นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีรอมที่เป็นชิปพิเศษแบบต่างๆอีกคือ

PROM (Programmable Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจำแบบ ROM ที่สามรถบันทึกด้วยเครื่องบันทึกพิเศษได้หนึ่งครั้ง จากนั้นจะลบหรือแก้ไขไม่ได้

EPROM (Erasable PROM) เป็นหน่วยความจำ ROM ที่ใช้แสงอัลตร้าไวโอเลตในการเขียนข้อมูล สามรถนำออกจากคอมพิวเตอร์ ไปลบโดยใช้เครื่องมือพิเศษและบันทึกข้อมูลใหม่ได้

EEPROM (Electrically Erasable PROM) จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดซึ่งรวมเอาข้อดีของรอมและแรมเข้าด้วยกัน กล่าวคือจะเป็นชิปที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการหล่อเลี้ยง (non-volatile) และสามารถเขียน แก้ไข หรือลบข้อมูลที่เก็บไว้ได้ด้วยโปรแกรมพิเศษ โดยไม่ต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เลย ทำให้เปรียบเสมือนกับหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความเร็วสูง อย่างไรก็ตามหน่วยความจำชนิดนี้จะมีข้อด้อยอยู่ 2 ประการเมื่อเทียบกับหน่วยเก็บข้อมูลสำรองนั่นคือราคาที่สูงและมีความจุข้อมูลไม่มากนัก ตัวอย่างของหน่วยความจำแบบ EEPROM ที่รู้จักะกันคือ  หน่วยความจำแบบ Flash ซึ่งนิยมนำมาใช้เก็บ BIOS ในเครื่องรุ่นใหม่ๆ

2.หน่วยความจำหลักแบบเข้าถึงโดยสุ่ม หรือRAM

หมายถึงหน่วยความจำที่ไม่สามารถแก้ไขได้ คือทั้งอ่านและเขีนยได้หน่วยความจำชนิดนี้เป็นหน่วยความจำความเร็วสูงซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลในคอมพิวเตอร์

โดยปกติแล้วถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมาก ก็จะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะมีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งของโปรแกรมต่างๆ ได้ทั้งหมด ไม่ต้องเรียกคำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่างมาก

 แผงวงจรหลัก(main board) ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยปกติจะถูกออกแบบมาให้สามารถเพิ่มชิปหน่วยความจำ (memory chip) ได้โดยง่ายเนื่องจากถ้าผู้ใช้งานต้องทำงานกับโปรแกรมที่มีการคำนวณซับซ้อนหรือทำงานกับภาพกราฟิกส์ ก็อาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มหน่วยความจำให้มากขึ้น




ขอขอบคุณข้อมูล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุระพงษ์ อุสายพันธ์.การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม.สกลนคร.ภาควิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ;2548

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น